วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

กลุ่มโครงงานป่าชายเลย

                         
                                              โครงงานเรื่อง ป่าชายเลนจังหวัดตราด

                                             

                                                                       จัดทำโดย
                                                                            ม.3/4

                                         ด.ช.วันวิรุฬห์     หอมจันทร์             เลขที่ 6

                                         ด.ช. สิทธิพงษ์   หงษ์ตะนุ               เลขที่ 12
        
                                          ด.ช.หมี               ทรวง                    เลขที่ 14

                                           ด.ช.หลีฮั้ว            จันทร์กฤษ          เลขที่ 15

                                           ด.ช.อนุชา            หนองน้ำเย็น       เลขที่ 16



                                                                          เสนอ





                                                  อาจารย์   ศิริรัตน์                  นำไทย

                                                                  วิชา  คอมพิวเตอร์




                                             โรงเรียนตราดสรรเสริญวิทาคม มัธยมศึกษาเขต17


ตัวอย่างพืชในป่าชายเลน

ตัวอย่างพืชในป่าชายเลน



DSC_9110โกงกางใบใหญ่ (Rhizophora mucronataเป็นพืชที่มีลำต้นตั้งตรงแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มบริเวณเรือนยอด ช่อดอกขนาดใหญ่ มี 3-5 ดอก และกลีบดอกมีขนปกคลุม ใบมีขนาดใหญ่ สีของหลังใบจะมีสีอ่อน ท้องใบเป็นสีเหลือง ผิวเปลือกหยาบ รากโค้งจรดดิน ไม่หักเป็นมุมฉาก ซึ่งเป็นลักษณะที่ต่างจากไม้โกงกางใบเล็กDSC_9110
โกงกางใบเล็ก (Rhizophora apiculata) ลักษณะคล้ายคลึงกับโกงกางใบใหญ่มาก แต่แตกต่างกันที่ ชนิดนี้มีใบขนาดเล็กกว่า ท้องใบเป็นสีเขียวอมดำ ปลายใบเป็นติ่ง ช่อดอกเล็กกว่า เพราะมีเพียง 2 ดอก และที่สำคัญกลีบดอกไม่มีขน รากหนึ่งหรือสองรากที่ทำมุมตั้งฉากกับลำต้น และหักเป็นมุมฉากลงดินDSC_5358
http://imagedb.calsnet.arizona.edu:8080/imagedb/images_sound/djhAust_web_IMG_0380.JPGแสมทะเล (Avicennia marinaเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ที่พบมากในพื้นดินงอกใหม่และที่ดินเลนปนทราย แผ่นใบรูปรีหรือรูปใบหอกแกมรูปไข่ ขอบใบม้วนเข้าหากัน ท้องใบสีขาวนวล ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ผลรูปไข่กว้าง เบี้ยว เกือบกลม แบนด้านข้าง
แสมขาว (Avicennia albaเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง-ใหญ่มักขึ้นปะปนกับแสมทะเล ลักษณะเด่นที่ ใบเป็นใบเดี่ยวรูปหอกแกมรี ปลายใบแหลม ด้านท้องใบมีขนยาวนุ่ม ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ขนาดเล็ก ผลรูปคล้ายพริกชี้ฟ้า หรือรูปไข่ เบี้ยว แบน มีรากหายใจคล้ายดินสอ
แสมดำ (Avicennia officinalisใบเป็นใบเดี่ยวรูปรี หรือไข่กลับ ผิวด้านบนสีเขียวเป็นมัน ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง สีเหลืองหรือส้ม ผลรูปหัวใจเบี้ยวแบน เปลือกอ่อนนุ่ม สีเหลืองปนเขียว ลำต้นมีสีน้ำตาลเข้ม มีรากคล้ายรากดินสอ
โปรงแดง (Ceriops tagalเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงปานกลาง ชอบดินที่มีสภาพเป็นกรดและค่อนข้างเป็นที่ดอน มีลำต้นสีเหลืองถึงสีปูนแห้ง ใบรูปไข่กลับ ปลายใบมน ดอกออกเป็นกระจุกตามง่ามใบ แต่ละช่อมี 4-8 ดอก ผลเป็นรูปแพร์กลับ สีเขียวถึงน้ำตาลอมเขียวhttp://www.botgard.ucla.edu/html/botanytextbooks/worldvegetation/marinewetlands/images/marinewetlands/mangal/Ceriopstagal2.jpg
DSC_9071พังกาหัวสุมดอกแดง (Bruguiera gymnorrhiza) เป็นพืชที่ชอบขึ้นใน ดินเลนแข็งและน้ำท่วมถึง ลำต้นมีสีดำ เปลือกเป็นเกล็ดหนา ลำต้นกลมมักจะพบลักษณะเป็นพูพอน ใบคล้ายใบโกงกางใบเล็ก แต่ต่างกันที่ไม่มีจุดสีดำที่ท้องใบ ดอกมีสีแดงสด ออกดอกตลอดปี
พังกาหัวสุมดอกขาว (Bruguiera sexangula) ลักษณะคล้ายพังกาหัวสุมดอกแดง แต่ดอกมีสีขาว มีโคนต้นและลำต้นที่กลม ส่วนเปลือกเรียบกว่า พบมากบริเวณที่ความเค็มต่ำ
http://www.dnp.go.th/Pattani_botany/พันธุ์ไม้/ป่าชายเลน/พังกาหัวสุมดอกขาว/พั13.jpgลำพูทะเล (Sonneratia albaเป็นไม้เบิกนำของป่าชายเลนเช่นเดียวกับแสม ใบเป็นสีเขียวอ่อน ปลายมนคล้ายรูปหัวใจกลับด้าน ก้านใบด้านหลังและสีด้านในกลีบเลี้ยงเป็นสีชมพูสวยงามมาก มักพบขึ้นปะปนกับแสม มีรากอากาศขนาดใหญ่ที่แทงขึ้นมาจากพื้นดินเห็นได้ชัดเจน บนต้นลำพูนี่เองที่หิ่งห้อยชอบอาศัยอยู่และส่งแสงกระพริบในเวลากลางคืน
ตะบูนดำ (Xylocarpus granatumเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรง โคนต้นมีพูพอนเล็กน้อย มีรากหายใจคล้ายรูปกรวยคว่ำ ผลค่อนข้างกลม มีร่องเล็กน้อยสีเขียว พบในบริเวณที่เป็นดินค่อนข้างแข็ง
http://www.vietnamnet.vn/dataimages/original/images147484_Coc_do_Lumnitzera_littorea.jpgฝาดดอกแดง (Lumnitzera littoreaเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง-ใหญ่ เปลือกสีน้ำตาลีรอยแตกเป็นร่องลึก ใบเป็นแผ่นหนา รูปรีแกมไข่กลับ สีเขียวเข้ม ออกดอกที่ปลายกิ่ง สีแดงสด กลีบดอก 5 กลีบ และมีผลรูปกระสวย พบบริเวณที่เป็นดินเลนแข็ง หรือดิน
ฝาดดอกขาว (Lumnitzera racemora) เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เปลือกขรุขระ สีน้ำตาลแดง ใบเป็นใบเดี่ยว กระจายตลอดกิ่ง แผ่นใบแคบ รูปไข่กลับ ดอกออกที่ปลายกิ่งและง่ามใบ ดอกมีสีขาว 5 กลีบDSC_9090
http://www.talaythai.com/Education/42620252e/42620252e-12.jpgเหงือกปลาหมอดอกม่วง (Acanthus ilicifolius) มักขึ้นในพื้นป่าชายเลนที่เสื่อมโทรมแล้วและมีน้ำท่วมถึง ส่วนของขอบใบหยักและมีหนามแหลมคม ออกดอกสีฟ้าอมม่วงมีแถบสีเหลืองตรงกลางกลีบดอก
ตาตุ่มทะเล (Exocoecaria agallochaลำต้นมีลักษณะพิเศษ คือ เป็นตุ่มเป็นตา ใบปกติมีสีเขียวอ่อน เมื่อแก่จัดจะเป็นสีเหลืองทั้งต้น แต่บางครั้งอาจพบใบหลายสีบนต้นเดียวกัน ยางมีพิษหากเข้าตาจะทำให้ตาบอดได้ แต่หากกินเข้าไปจะทำให้ท้องเสียอย่างรุนแรง พบมากโดยทั่วไปในที่ดินเลนค่อนข้างแข็งหรือที่ดินเลนปนทรายและปนหินตาตุ่มทะเล
จาก (Nypa fruticanเป็นพืชกลุ่มเดียวกับปาล์ม ชอบขึ้นริมฝั่งคลองตามแนวป่าชายเลนหรือบริเวณน้ำกร่อย ชาวประมงนิยมมาทำเป็นหลังคาบ้าน ผลมีลักษณะแทงขึ้นมาเป็นทะลาย นำมาทำเป็นลูกชิดรับประทานได้ ส่วนของน้ำตาลนำมาทำยาแก้ริดสีดวงทวารได้ผลชะงัดนัก
tree242620252e-16

การปลูกป่าชายเลน

การปลูกป่าชายเลน



1. การปลูกป่าชายเลนโดยใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน 

                กรมป่าไม้ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2482 ในท้องที่จังหวัดจันทบุรีในบริเวณพื้นที่ป่าที่เสื่อมโทรม โดยดำเนินการปลูกไม้โกงกางเพื่อเป็นการทดลองปลูกในเนื้อที่เพียงเล็กน้อย และไม่ได้มีโครงการที่จะปลูกเพิ่มขึ้นในท้องที่จังหวัดอื่นด้วย แต่ก็ดำเนินการเพียงพื้นที่เล็กน้อย และเริ่มปลูกเพิ่มมากขึ้นในระยะหลังแต่พื้นที่ก็ยังไม่มาก ไม้ที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นไม้โกงกาง มีไม้โปรง ไม้ถั่วบ้าง แต่ก็เป็นส่วนน้อย การปลูกป่าชายเลน ที่ผ่านมาเพียงปลูกเพื่อฟื้นฟูสภาพป่าในบริเวณป่าที่เสื่อมโทรมยังไม่มีแผน การจัดการที่จะนำไม้ออกมาใช้ประโยชน์ เนื้อที่สวนป่าชายเลนที่ได้ดำเนินการปลูกโดยใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2482 ถึงปี พ.ศ. 2534 มีการดำเนินการในท้องที่จังหวัดจันทบุรี นครศรีธรรมราช ตรัง สตูล ปัตตานี กระบี่ ชุมพร ได้เนื้อที่รวมกันประมาณ 56,660 ไร่ 

2. การปลูกป่าชายเลนตามเงื่อนไขสัมปทานทำไม้ป่าชายเลน 


                การทำไม้ตามสัมปทานได้เริ่มออกสัมปทานทำให้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511 โดยให้สัมปทานระยะยาว 15 ปี ขณะนี้ป่าโครงการที่ให้สัมปทานอยู่ในรอบที่สอง (สัมปทานฉบับใหม่) จำนวน 248 ป่า เนื้อที่ประมาณ 899,755.07 ไร่ ซึ่งเมื่อทำไม้ออกตามสัมปทานแล้วแต่ละปีผู้รับสัมปทานจะต้องทำการปลูกบำรุง ป่า ทดแทน ตามเงื่อนไขสัมปทานทำไม้รอบแรกกำหนดให้ผู้รับสัมปทานปลูกป่าทดแทนเพียง 1 เท่าค่าภาคหลวง เท่านั้น จึงทำให้ปลูกป่าทดแทนได้ไม่เต็มพื้นที่ที่มีการทำไม้ออก ฉะนั้นตามสัมปทานทำไม้ฉบับใหม่ที่ทำไม้ออก ตามสัมปทานในรอบที่สอง ได้มีการปรับปรุงเงื่อนไขสัมปทานให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการปลูกบำรุงได้กำหนดให้ผู้รับสัมปทานดำเนินการปลูกป่าชายเลนทดแทน ให้เต็มพื้นที่ในแนวตัดฟันไม้ที่ทำไม้ออกทั้งหมด แล้วยังต้องดำเนินการปลูกป่าเขตสัมปทานตามวิธีการที่กรมป่าไม้กำหนดอีกภายใน วงเงิน 3 เท่าค่าภาคหลวง พร้อมทั้งขุดแพรกเพื่อช่วยเหลือการเจริญเติบโตของพันธุ์ไม้ป่าชายเลนที่ปลูก อีกด้วย ดังนั้นพื้นที่ป่าชายเลน ที่ให้สัมปทานทำไม้แล้ว รัฐจึงไม่ต้องทำการปลูกป่าชายเลนเอง เพียงแต่ให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบ ควบคุมให้ผู้รับสัมปทาน ทำการปลูกป่าชายเลนให้เป็นไปตามเงื่อนไขสัมปทานโดยเคร่งครัด 
3. การปลูกป่าชายเลนโดยภาคเอกชน 

                การปลูกสร้างสวนป่าชายเลนหรือสวนป่าไม้โกงกางโดยเอกชน อยู่ในบริเวณชายฝั่งทะเลก้นอ่าวไทยในท้องที่จังหวัดเพชรบุรี สมุทรสงคราม สมุทรปราการ จนถึงชลบุรี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการปลูกสร้างสวนป่าไม้โกงกางเป็นอาชีพในครัวเรือน ในที่ดินกรรมสิทธิ์ซึ่งเป็นมรดกตกทอดต่อ ๆ กันมา จากการสอบถามประวัติความเป็นมาของราษฎรบางรายในท้องที่บ้านตะบูน อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรีและที่บ้านยี่สาร อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งได้เริ่มปลูกป่าไม้โกงกางใบเล็กเพื่อเผาถ่านและทำไม้ฟืนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2480 และมีราษฎร รายอื่น ๆ ทำตามติดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยจำนวนเนื้อที่ที่แท้จริงของสวนป่าไม้โกงกางที่ราษฎรได้ปลูกขึ้นที่บ้าน ยี่สาร อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม มีเนื้อที่ประมาณ 16,000 ไร่ โดยดำเนินการอยู่หลายเจ้าของ และใช้ประโยชน์ไม้จากสวนป่าที่ปลูก ในการเผาถ่านเป็นส่วนใหญ่ เมื่อสวนป่ามีอายุ 8 - 12 ปี แต่ขณะนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่สวนป่าดังกล่าวทำเป็นนากุ้งไปเป็นจำนวน มากแล้ว 

4. การปลูกป่าชายเลนตามโครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ 

                รัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับภาคเอกชนจัดทำโครงการปลูกป่า ถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชปีที่ 50 นั้น กรมป่าไม้ในฐานะที่ หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการปลูกป่าได้รับมอบหมายให้จัดทำพื้นที่ เป้าหมายขึ้นเพื่อใช้เป็นพื้นที่ปลูกป่า โดยในส่วนที่เป็นพื้นที่ป่าชายเลนนั้น กรมป่าไม้ได้จัดทำพื้นที่เป้าหมายไว้ 31,724 ไร่ จำนวน 57 แห่ง อยู่ในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ จำนวน 12 จังหวัด 

การแบ่งเขตป่าชายเลน

การแบ่งเขตป่าชายเลน (Mangrove Zonation) ตามชนิดของไม้นำ
          เขตต่างๆของพันธุ์ไม้ชายเลนในแต่ละแห่งที่พบในประเทศไทยมีความแตกต่างกันบ้าง โดยทั่วไปสามารถแบ่งได้เป็น 4 เขตดังนี้ 
[1]

          1. เขตป่าโกงกาง 

                  ประกอบด้วย "โกงกางใบเล็ก" (Rhizophora apiculata) ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นและมีต้น "โกงกางใบใหญ่" (R. mucronata) ขึ้นอยู่ทางด้านนอกริมฝั่งแม่น้ำ โดยมากมักขึ้นเป็นกลุ่มๆ ส่วน แสม มักขึ้นแซมตามชายป่าด้านนอกหรือถัดเข้าไปเพียงเล็กน้อย ซึ่งมองเห็นได้ชัดเพราะมีต้นสูงใหญ่กว่าโกงกางนอกจากนี้ยังมี ประสัก และ พังกาหัวสุม ขึ้นแทรกอยู่ทางด้านในของเขตนี้ ซึ่งอยู่ในระยะประมาณ 50-100 เมตร จากชายฝั่งและในบางแห่งพบต้น "จาก" (Nypa) ขึ้นอยู่เป็นหย่อม ๆ ปะปนด้วย โดยเฉพาะในบริเวณแหล่งน้ำกร่อย 

          2. เขตป่าตะบูนและโปรง 

                  ประกอบด้วย "ตะบูน" (Xylocarpus) ขึ้นต่อจากเขตต้นโปรงเข้าไป และมีต้นฝาดขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น บางบริเวณอาจมี ลำแพน แทรกอยู่ด้วย 

          3. เขตป่าตาตุ่ม และฝาด 

                   เป็นบริเวณที่มีดินเลนแข็งขึ้นอยู่ในระดับที่น้ำจะท่วมถึงในช่วงน้ำเกิด อยู่ถัดจากป่าตะบูนและโปรงขึ้นไป โดยมีต้น ฝาด ขึ้นอยู่หนาแน่นปะปนกับต้น ตาตุ่ม โดยบางแห่งจะมีต้น ลำแพน ขึ้นแทรกอยู่ด้วย 

          4. เขตป่าเสม็ด 

                   ประกอบด้วย "เสม็ด" ขึ้นอยู่หนาแน่น เป็นเขตสุดท้ายของป่าชายเลนที่น้ำท่วมถึงในช่วงน้ำเกิดหรือท่วมไม่ถึง ติดต่อกับป่าบกหรือทุ่งนา

ประโยชน์ของป่าชายเลน

                                   

   ประโยชน์ของป่าชายเลน 

        





    1. เป็นแหล่งพลังงาน อาหาร และที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์ตามธรรมชาติ

            2. เป็นแนวชายป้องกันฝั่งทะเลจากการกัดเซาะพังทลาย กำบังคลื่น ลม กระแสน้ำและพายุ

            3. เป็นที่ดูดซับน้ำเสียจากบ้านเรือน

            4. เป็นแหล่งวัตถุดิบผลิตภัณฑ์จากไม้ ที่ใช้ในการก่อสร้าง และอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น สิ่งทอและหนังสัตว์

            5. เป็นแหล่งเชื้อเพลิง เช่น การทำถ่านจากไม้ในป่าชายเลน

            6. เป็นแหล่งวัตถุดิบในการผลิตอาหาร ยา และเครื่องดื่ม

            7. เป็นแหล่งแร่ดีบุก

            8. เป็นแหล่งประมงใกล้ชายฝั่ง แหล่งอาศัยของลูกปลา ลูกกุ้ง และสัตว์น้ำวัยอ่อนอื่นๆ

            9. เป็นที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เช่น หอยแมลงภู่ กุ้ง ปลาในกระชัง เป็นต้น

            เอกลักษณ์ของป่าชายเลนที่แตกต่างจากป่าบกอย่างชัดเจน คือ การแพร่กระจายของพันธุ์ไม้มีลักษณะแบ่งออกเป็นแนวเขต (zonation) ค่อนข้างชัดเจน โดยขึ้นอยู่กับลักษณะทางกายภาพและเคมีภาพของดิน ความเค็มของน้ำ การท่วมถึงของน้ำทะเล กระแสน้ำ การระบายน้ำ และความเปียกชื้นของดิน 

ป่าชายเลนในประเทศไทย


                                              ป่าชายเลนในประเทศไทย

            ป่าชายเลนเป็นระบบนิเวศที่ประกอบด้วยพืชและสัตว์นานาชนิด ดำรงชีวิตร่วมกันในสภาพแวดล้อมที่เป็นดินเลน น้ำกร่อย หรือมีน้ำทะเลท่วมถึงสม่ำเสมอ พบทั่วไปตามที่ราบปากแม่น้ำ อ่าว บริเวณชายฝั่งทะเลในเขตน้ำขึ้นน้ำลง ทะเลสาบ และบริเวณรอบเกาะแก่งต่างๆ
            ป่าชายเลนประกอบด้วยพันธุ์ไม้หลายชนิดหลายตระกูล และเป็นพันธุ์ไม้ไม่ผลัดใบ (evergreen species) ซึ่งมีลักษณะทางสรีรวิทยาและความต้องการสิ่งแวดล้อมที่คล้ายกัน ส่วนใหญ่ประกอบด้วยพันธุ์ไม้สกุลโกงกาง (Rhizophora sp.) เป็นไม้สำคัญและมีไม้ตระกูลอื่นบ้าง ตัวอย่างเช่น ถั่วดำ ถั่วขาว พังกาหัวสุมดอกแดง โปรงขาว โปรงแดง ตะบูนดำ ตะบูนขาว แสมขาว แสมทะเล ลำพู ลำพูทะเล ตาตุ่มทะเล เหงือกปลาหมอ เป็นต้น
alt
โกงกาง
 alt
แสม
 alt
เสม็ด
 alt
ตะบูน

            สภาพแวดล้อมโดยทั่วไปของป่าชายเลนมีความแตกต่างออกไปอย่างมากจากป่าชนิดอื่นๆ โดยเฉพาะดิน ดินในป่าชายเลนมีความอุดมสมบูรณ์สูงจากธาตุอาหารที่มาจากการกันเซาะตามชายฝั่ง และแหล่งน้ำลำธาร สารอินทรีย์จากซากพืชซากสัตว์ในบริเวณป่าชายเลนเอง โดยเฉพาะใบไม้ที่ร่วงหล่นทับถมกันเป็นจำนวนมาก แพลงค์ตอนพืชและสาหร่าย น้ำบริเวณนี้มีความเค็มค่อนข้างต่ำ ระดับความเค็มของน้ำเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามระดับน้ำที่ขึ้นลงและปริมาณน้ำจืดไหลมาจากแม่น้ำลำคลอง

            สัตว์ต่างๆที่อาศัยอยู่ในป่าชายเลน ต่างก็ได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมที่ต่างไปจากสัตว์ในป่าบกทั่วไปเช่นกัน โดยเฉพาะสัตว์ที่อาศัยอยู่ตามพื้นป่า ซึ่งอาศัยคืบคลานหรือเกาะหรือขุดรูอยู่ตามพื้นดิน รวมทั้งชนืดที่อาศัยอยู่ในน้ำจะต้องมีการปรับตัวอย่างมากเพื่อการอยู่รอด เนื่องจากต้องประสบกับสภาวะต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เป็นประจำหรือต้องอยู่ในสภาพไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตโดยทั่วไป เช่น สภาวะที่ทำให้มีการสูญเสียน้ำออกจากลำตัว สภาพอุณหภูมิสูง สภาพที่มีปริมาณออกซิเจนค่อนข้างต่ำของดินเลน และการเปลี่ยนแปลงความเค็มของน้ำ สัตว์พวกนี้ได้แก่ หอย ปู กุ้ง หนอนตัวกลม หนอนตัวแบน ไส้เดือนทะเล และครัสเตเชียน (สัตว์ไม่มีกระดูสันหลังจำพวกกุ้ง ปู) เป็นต้น

            ชุมชนในป่าชายเลนจะประกอบไปด้วยสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆจำนวนมากที่สามารถปรับตัวอยู่ได้ ทำให้ป่าชายเลนมีความอุดมสมบูรณ์ เป็นที่วางไข่และอนุบาลตัวอ่อนและที่อยู่อาศัยของสัตว์ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจหลายชนิด


                                                                              

แห่งที่สาม

                 
                                                               เส้นทางที่สาม
                                      
                                                                   

เส้นทางถัดมาเป็นทางในหมู่บ้านที่จะผ่านไปขึ้นเรือสู่เกาะช้าง คือ แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านน้ำเชี่ยว เป็นชุมชนชายฝั่ง มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติสร้างทอดยาวให้ได้ชมกันทั้งระบบนิเวศ ป่าชายเลน ปู ปลาตีน ลิง และนกจำนวนมาก มีหอดูนกสูงกว่า 12 เมตร สร้างเป็นไฮไลต์ให้นักท่องเที่ยวขึ้นไปดูนก ชมวิว ซึ่งบนนั้นสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของป่าชายเลนได้รอบด้าน ส่วนยามค่ำคืนป่าชายเลนแห่งนี้ถือเป็นจุดชมหิ่งห้อยที่ น่าสนใจอีกแห่งหนึ่ง หรือหากใครไปถึงเกาะช้างแล้วก็ยังมีเส้นทางป่าชายเลนบ้าน สลักเพชรบนเกาะช้างให้ได้ชื่นชมต้น ฝาดดอกแดง นางพญาแห่งป่าชายเลนที่อายุนับร้อยปี นักท่องเที่ยวจะได้เดินไปตามสะพานไม้ยาวประมาณ 1 กม. สุดสะพานจะเห็นทัศนียภาพของอ่าวสลักเพชร และสามารถมองเห็นภูเขาโดยรอบ ท่ามกลางป่าชายเลน